Posted in: ข่าวสาร

ดร.ยศพงษ์ ลออนวล Yossapong Laoonual หัวหน้าศูนย์วิจัย MOVE ได้รับเชิญเข้าร่วมในพิธีเปิดโรงงานแบตเตอรี่ของบริษัท GPSC ทาง online

เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2564 ดร.ยศพงษ์ ลออนวล Yossapong Laoonual หัวหน้าศูนย์วิจัย MOVE ได้รับเชิญเข้าร่วมในพิธีเปิดโรงงานแบตเตอรี่ของบริษัท GPSC ทาง online โรงงานใหม่นี้สามารถผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนด้วยกำลังการผลิต 30 MWh ต่อปี ถือว่าเป็นโรงงานแห่งแรกของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนที่ผลิตแบตเตอรี่ด้วยเทคโนโลยี Semi-Solid โดยมีนวัตกรรมในกระบวนการผลิต (production process) ทำให้สามารถผลิต G-Cell มีจุดเด่นคือเป็น Semi-Solid Battery และ Unique Battery Cell Design ซึ่งทำให้มีความปลอดภัยมากกว่าแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนทั่วไป

Posted in: ACTICLE

สหภาพยุโรป เตรียมเสนอรถยนต์ใหม่ต้องเป็น “รถยนต์ไร้มลพิษ” ภายในปีค.ศ. 2035

สหภาพยุโรป เตรียมเสนอรถยนต์ใหม่ต้องเป็น “รถยนต์ไร้มลพิษ” ภายในปีค.ศ. 2035 สหภาพยุโรป เตรียมเเผนยกเลิกการจำหน่าย รถยนต์เครื่องยนต์ หลังผู้ผลิตยานยนต์ จะหยุดผลิต รถยนต์เครื่องยนต์โดยเปลี่ยนไปใช้ยานยนต์ไร้มลพิษ หรือ ยานยนต์ไฟฟ้า 100% ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2028 – ค.ศ. 2035 ตามที่ทางสหภาพยุโรป มีมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่อากาศ ด้วยการปรับปรุงข้อกฏหมายด้านการจัดเก็บภาษีในการใช้พลังงานที่มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมทั้งการตั้งเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 55% ภายในปี ค.ศ. 2030 เมื่อเทียบกับในปี ค.ศ. 1990 และตั้งเป้าหมายในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050 ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม ผู้ผลิตยานยนต์หลายราย ได้เริ่มประกาศว่า ช่วงเวลาที่ยานยนต์ทุกรุ่นจะจำหน่ายเฉพาะยานยนต์ไร้มลพิษ (ยานยนต์ไฟฟ้า 100%)​ เท่านั้น โดยค่ายยานยนต์ Volkswagen AG ได้ประกาศว่ามากกว่า 50% ของยานยนต์ที่บริษัทจัดจำหน่าย จะเป็นยานยนต์ไร้มลพิษ ภายในปี ค.ศ. 2030 อ้างอิงhttps://www.reuters.com/…/eu-will-introduce-cut-off…/https://www.bloomberg.com/…/europe-to-propose-end-of… #สู่ลมหายใจไร้ฝุ่น#MOVE#KMUTT#moveforwardforthebetterbreath#ZEV#vehicle#รถยนต์ไฟฟ้า

Posted in: ACTICLE

การควบคุมมลพิษจากรถยนต์ดีเซล ด้วยมาตรฐานไอเสียยูโร 4 เนื่องด้วยปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะปัญหา PM2.5

ในปัจจุบันประเทศไทยมีการควบคุมมลพิษจากรถยนต์ดีเซล ด้วยมาตรฐานไอเสียยูโร 4 เนื่องด้วยปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะปัญหา PM2.5 ภาครัฐจึงมีแผนยกระดับความเข้มข้นของการปลดปล่อยมลพิษโดยยกระดับมาตรฐานไอเสียยูโร 4 ไปเป็นมาตรฐานที่สูงขึ้น ได้แก่ มาตรฐานยูโร 5 และ 6 ตามลำดับ เป็นแนวทางหนึ่งที่จะควบคุมการปล่อยมลพิษจากยานยนต์ใหม่ อย่างไรก็ตาม ในการพัฒนามาตรฐานการควบคุมมลพิษไปสู่ยูโร 5 และ 6 นั้น ต้องพิจารณา 2 ประเด็นหลักคือ มาตรฐานของน้ำมันเชื้อเพลิง มาตรฐานการควบคุมไอเสียยานยนต์ สำหรับมาตรฐานการควบคุมไอเสียยานยนต์จำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีของเครื่องยนต์ รวมทั้งมีการติดตั้งอุปกรณ์บำบัดไอเสียเพิ่มด้วย •มาตรฐานของน้ำมันเชื้อเพลิง 4 จะมีปริมาณของกำมะถันในเชื้อเพลิงไม่เกิน 50 PPM ส่วนมาตรฐานของน้ำมันเชื้อเพลิงยูโร 5 และ 6 นั้นจะมีปริมาณของกำมะถันในเชื้อเพลิงไม่เกิน 10 PPM •ชนิดและหลักการทำงานของอุปกรณ์บำบัดไอเสีย 1.1 ดีเซลออกซิเดชั่นแคทาลิติก (Diesel Oxidation Catalyst, DOC) ทำหน้าที่การเกิดปฏิกิริยาเคมีออกซิเดชั่นของไอเสียทำให้ ไฮโดรคาร์บอน (HC) และ คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) เปลี่ยนเป็น คาร์บอนไดออกไซด์ […]

Posted in: English news

Bangchak’s Annual Seminar Takes “Everlasting Battery” Theme

Bangchak Corporation Public Company Limited has organized its 10th annual seminar, “Everlasting Battery to Revolutionize Future Energy”, to present interesting stories on battery or energy-storage system that proves to be the most important transitional technology for the world’s shift from fossil fuel to renewable energy. Lithium-ion battery is highlighted at the seminar because it answers […]

Posted in: English news

NXPO Recovery Forum: Opportunities of Thai industry in the future of mobility

NXPO’s Recovery Forum took place on 20 August 2020. The recent weekly forum focused on opportunities of Thai industry in the future of mobility, with guest speaker Assoc. Prof. Dr. Yossapong Laoonual, President of the Electric Vehicle Association of Thailand (EVAT) and Assistant to the President for Sustainability of King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT).  According to Dr. Yossapong, the auto industry has lately witnessed the transformation due to heightened awareness and concern on the environment and climate change, along with the change in […]

Posted in: ข่าวสาร

แนวคิดการขนส่งแบบไร้มลพิษของ มจธ. (KMUTT Zero Emission Transport Concept)

ศูนย์วิจัย MOVE ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อน มจธ. สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเสนอแนวคิด “การขนส่งแบบไร้มลพิษ เพื่อก้าวไปสู่การเดินทางที่ยั่งยืน” โดยการใช้มหาวิทยาลัยเป็นสนามทดสอบ (Test Bed) และแหล่งเรียนรู้และวิจัยในวิถีชีวิต (Living Lab) โดยมีแนวคิดที่ประกอบไปด้วย การเปลี่ยนยานยนต์ของมหาวิทยาลัยให้เป็นยานยนต์ไฟฟ้า 100% การเปลี่ยนรถโดยสารและรถตู้บริการของมหาวิทยาลัยระหว่างพื้นที่เป็นแบบยานยนต์ไฟฟ้า 100% การติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะภายในมหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า การส่งเสริมการแบ่งปันและการใช้รถยนต์ร่วมกัน การส่งเสริมการเดิน การขี่จักรยาน หรือการใช้จักรยานยนต์ไฟฟ้าในการเดินทางภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย หรือการเดินทางระยะใกล้ของนักศึกษาและบุคลากรตามความเหมาะสมและการคำนึงถึงความปลอดภัย การลดการใช้งานรถยนต์ส่วนบุคคลด้วยการเดินทางสู่มหาวิทยาลัยโดยการขนส่งสาธารณะและใช้อาคารเคเอกซ์เป็นจุดเชื่อมต่อ การใช้ระบบการจัดการและดิจิทัลแอปพลิเคชันเพื่อการเข้าถึงการให้บริการที่มีคุณภาพ และได้รับความสะดวกสบายของนักศึกษาบุคลากรของมหาวิทยาลัยและบุคคลภายนอก โดยมหาวิทยาลัยยินดีร่วมมือกันจากทุกภาคส่วนที่มีแนวคิดร่วมกันในการพัฒนาให้เกิดขึ้นจริง

Posted in: ข่าวสาร

การเปลี่ยนแปลงและความท้าทายของอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่

อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) เป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Engine of Growth) ของประเทศอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยมายาวนานกว่า 5 ทศวรรษ จนก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของโลก นอกจากนี้ภาครัฐยังได้เล็งเห็นถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียานยนต์ในอนาคตและความสำคัญในการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในประเทศต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์เดิมไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ประกอบไปด้วย ยานยนต์ที่มีการเชื่อมโยงสื่อสารกัน ยานยนต์ที่มีการเชื่อมโยงสื่อสารกัน (Connected Vehicle) หมายถึง การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิตอลและการเชื่อมโยงระหว่างยานยนต์รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการเดินทางระหว่างกัน ซึ่งจะส่งผลให้การใช้งานยานยนต์มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการเดินทางเพิ่มขึ้น ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ (Autonomous Vehicle) หมายถึง ยานยนต์ที่ขับขี่โดยอัตโนมัติ ซึ่งมีระดับขั้นของความอัตโนมัติตั้งแต่น้อย (มีการช่วยเหลือในบางขณะ) ไปสู่มาก (ไร้คนขับเป็นการช่วยขับขี่แบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ) ธุรกิจการใช้รถยนต์ร่วมกัน ธุรกิจการใช้รถยนต์ร่วมกัน (Shared mobility หรือ Mobility as a service) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบธุรกิจการให้บริการยานยนต์แบบใหม่ เช่น การแบ่งปันการใช้ยานยนต์ บริการแท็กซี่ไร้คนขับ เป็นต้น ยานยนต์ไฟฟ้า ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) หมายถึง ยานยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า […]

Back to Top