ศูนย์วิจัย MOVE ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อน มจธ. สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเสนอแนวคิด “การขนส่งแบบไร้มลพิษ เพื่อก้าวไปสู่การเดินทางที่ยั่งยืน” โดยการใช้มหาวิทยาลัยเป็นสนามทดสอบ (Test Bed) และแหล่งเรียนรู้และวิจัยในวิถีชีวิต (Living Lab) โดยมีแนวคิดที่ประกอบไปด้วย การเปลี่ยนยานยนต์ของมหาวิทยาลัยให้เป็นยานยนต์ไฟฟ้า 100% การเปลี่ยนรถโดยสารและรถตู้บริการของมหาวิทยาลัยระหว่างพื้นที่เป็นแบบยานยนต์ไฟฟ้า 100% การติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะภายในมหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า การส่งเสริมการแบ่งปันและการใช้รถยนต์ร่วมกัน การส่งเสริมการเดิน การขี่จักรยาน หรือการใช้จักรยานยนต์ไฟฟ้าในการเดินทางภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย หรือการเดินทางระยะใกล้ของนักศึกษาและบุคลากรตามความเหมาะสมและการคำนึงถึงความปลอดภัย การลดการใช้งานรถยนต์ส่วนบุคคลด้วยการเดินทางสู่มหาวิทยาลัยโดยการขนส่งสาธารณะและใช้อาคารเคเอกซ์เป็นจุดเชื่อมต่อ การใช้ระบบการจัดการและดิจิทัลแอปพลิเคชันเพื่อการเข้าถึงการให้บริการที่มีคุณภาพ และได้รับความสะดวกสบายของนักศึกษาบุคลากรของมหาวิทยาลัยและบุคคลภายนอก โดยมหาวิทยาลัยยินดีร่วมมือกันจากทุกภาคส่วนที่มีแนวคิดร่วมกันในการพัฒนาให้เกิดขึ้นจริง
Category: ข่าวสาร
การเปลี่ยนแปลงและความท้าทายของอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) เป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Engine of Growth) ของประเทศอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยมายาวนานกว่า 5 ทศวรรษ จนก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของโลก นอกจากนี้ภาครัฐยังได้เล็งเห็นถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียานยนต์ในอนาคตและความสำคัญในการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในประเทศต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์เดิมไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ประกอบไปด้วย ยานยนต์ที่มีการเชื่อมโยงสื่อสารกัน ยานยนต์ที่มีการเชื่อมโยงสื่อสารกัน (Connected Vehicle) หมายถึง การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิตอลและการเชื่อมโยงระหว่างยานยนต์รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการเดินทางระหว่างกัน ซึ่งจะส่งผลให้การใช้งานยานยนต์มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการเดินทางเพิ่มขึ้น ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ (Autonomous Vehicle) หมายถึง ยานยนต์ที่ขับขี่โดยอัตโนมัติ ซึ่งมีระดับขั้นของความอัตโนมัติตั้งแต่น้อย (มีการช่วยเหลือในบางขณะ) ไปสู่มาก (ไร้คนขับเป็นการช่วยขับขี่แบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ) ธุรกิจการใช้รถยนต์ร่วมกัน ธุรกิจการใช้รถยนต์ร่วมกัน (Shared mobility หรือ Mobility as a service) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบธุรกิจการให้บริการยานยนต์แบบใหม่ เช่น การแบ่งปันการใช้ยานยนต์ บริการแท็กซี่ไร้คนขับ เป็นต้น ยานยนต์ไฟฟ้า ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) หมายถึง ยานยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า […]
Read More “การเปลี่ยนแปลงและความท้าทายของอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่”
ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านยานยนต์สมัยใหม่ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและบริษัท สามมิตรมอเตอร์สแมนูแฟคเจอริง จำกัด (มหาชน)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และบริษัท สามมิตรมอเตอร์สแมนู แฟคเจอริง จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านยานยนต์สมัยใหม่เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดความรู้อันจะนำไปสู่นวัตกรรมสินค้าและนวัตกรรมการผลิตในลักษณะของหน่วยบ่มเพาะด้านเทคโนโลยีและธุรกิจ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างทั้งสองฝ่าย
ความร่วมมือด้านการพัฒนาระบบขับเคลื่อนของรถสามล้อไฟฟ้าโดยใช้ In-wheel motor ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและบริษัท Dynax corporation จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น)
เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2561 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี ได้ลงนามในกับบริษัท Dynax corporation โดย Mr. Koji Akita ประธานบริษัท ณ อาคารเคเอ็กซ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยความร่วมมือดังกล่าวมุ่งเน้นการพัฒนาระบบขับเคลื่อนของรถสามล้อ ไฟฟ้าโดยใช้ In-wheel motor ซึ่งเป็นเทคโนโลยีหลักของบริษัท Dynax Corporation โดยเทคโนโลยี In-wheel motor ของ Dynax Corporation มีจุดเด่นคือ น้ำหนักเบา ขนาดเล็ก และมีประสิทธิภาพสูง ดังนั้นเมื่อนำมาใช้กับรถสามล้อไฟฟ้าจะช่วยลดการสิ้นเปลืองพลังงงานและเพิ่มเสถียรภาพในการขับขี่ นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงรถไฟฟ้า 3 คันแสดงภายในงาน ประกอบไปด้วย รถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบขนาดเล็ก L7e รถแข่งฟอร์มูล่าไฟฟ้าสูตรนักศึกษา และรถสามล้อไฟฟ้าต้นแบบอีกด้วย
โครงการรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กเพื่อการแข่งขัน Shell Eco Marathon Asia
นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีดำเนินกิจกรรมโครงการรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันในรายการ Shell Eco Marathon Asia โดยมีรศ. ดร.ยศพงษ์ ลออนวล เป็นที่ปรึกษาโครงการ โครงการดังกล่าวเพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจด้านกระบวนการออกแบบและผลิตยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่กำลัง เติบโตอย่างยิ่งในระดับโลกและในประเทศไทย อีกทั้งเป็นการพัฒนาและนำความรู้จากห้องเรียนมาสู่การปฏิบัติจริงเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะทางวิศวกรรมอย่างบูรณาการร่วมกันจากต่างภาควิชาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากการออกไปแข่งขันในต่างประเทศและเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย โดยนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันในรายการ Shell Eco Marathonครั้งแรกในปี 2561 ณ ประเทศสิงค์โปร์ และในปี 2562 ณ ประเทศมาเลเซีย โดยในปี 2562 ได้รับรางวัล Communication Awards
งาน KMUTT Winter School in Next Generation Mobility
วันที่ 9-10 มกราคม 2562 คลัสเตอร์วิจัยยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดงาน KMUTT Winter School in Next Generation Mobility ขึ้นในวันที่ 9-10 มกราคม 2562 โดยได้รับเกียรติจาก Associate Professor Dr.Mario Hirz จาก Graz University of Technology ประเทศออสเตรีย และ Prof. Madya Dr.Srithar Rajoo จาก Universiti Teknologi Malaysia (UTM) ประเทศมาเลเซีย ร่วมบรรยายในหัวข้อ “Influencing factors on mobility and the impact of different transportation technologies” และ “Waste Heat […]
Read More “งาน KMUTT Winter School in Next Generation Mobility”
งานเสวนาระดมความคิดเห็น “ฝ่าวิกฤตเมืองกรุงฯ ลดฝุ่น PM 2.5 จากยานยนต์ก่อนสายเกินแก้”
วันที่ 16 มีนาคม 2561 ณ อาคารเคเอกซ์ คลัสเตอร์วิจัยด้านยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับ สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ จัดสัมมนาระดมความคิดเห็น เรื่อง “วิกฤตเมืองกรุงฯ ก่อนจะสายเกินแก้ เราจะลดฝุ่น PM 2.5 จากยานยนต์กันได้อย่างไร?” โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคุณเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาฝุ่น ละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ ซึ่งมีแหล่งกำเนิดที่สำคัญมาจากการคมนาคมขนส่งทางถนน ในการให้ความรู้ในครั้งนี้คลัสเตอร์วิจัยด้านยานยนต์ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศและในประเทศและมีการนำเสนอกรณีตัวอย่างการแก้ปัญหามลพิษในต่างประเทศเพื่อเป็นแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษาและประชาชนทั่วไป โดยงานดังกล่าวมีผู้สนใจเข้าร่วมจำนวน 40 ท่าน