ในปัจจุบันประเทศไทยมีการควบคุมมลพิษจากรถยนต์ดีเซล ด้วยมาตรฐานไอเสียยูโร 4 เนื่องด้วยปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะปัญหา PM2.5
ภาครัฐจึงมีแผนยกระดับความเข้มข้นของการปลดปล่อยมลพิษโดยยกระดับมาตรฐานไอเสียยูโร 4 ไปเป็นมาตรฐานที่สูงขึ้น ได้แก่ มาตรฐานยูโร 5 และ 6 ตามลำดับ เป็นแนวทางหนึ่งที่จะควบคุมการปล่อยมลพิษจากยานยนต์ใหม่
อย่างไรก็ตาม ในการพัฒนามาตรฐานการควบคุมมลพิษไปสู่ยูโร 5 และ 6 นั้น ต้องพิจารณา 2 ประเด็นหลักคือ มาตรฐานของน้ำมันเชื้อเพลิง มาตรฐานการควบคุมไอเสียยานยนต์ สำหรับมาตรฐานการควบคุมไอเสียยานยนต์จำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีของเครื่องยนต์ รวมทั้งมีการติดตั้งอุปกรณ์บำบัดไอเสียเพิ่มด้วย
•มาตรฐานของน้ำมันเชื้อเพลิง 4 จะมีปริมาณของกำมะถันในเชื้อเพลิงไม่เกิน 50 PPM ส่วนมาตรฐานของน้ำมันเชื้อเพลิงยูโร 5 และ 6 นั้นจะมีปริมาณของกำมะถันในเชื้อเพลิงไม่เกิน 10 PPM

•ชนิดและหลักการทำงานของอุปกรณ์บำบัดไอเสีย
1.1 ดีเซลออกซิเดชั่นแคทาลิติก (Diesel Oxidation Catalyst, DOC) ทำหน้าที่การเกิดปฏิกิริยาเคมีออกซิเดชั่นของไอเสียทำให้ ไฮโดรคาร์บอน (HC) และ คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) เปลี่ยนเป็น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และ น้ำ (H2O) ในปัจจุบันระบบ DOC มีประสิทธิภาพสูงสุดในการลดมลพิษ HC และ CO ประมาณ 90%
1.2 อุปกรณ์กรองฝุ่นดีเซล (Diesel Particulate Filter, DPF) ฝุ่นละออง (PM) ที่ไหลผ่านถูกดักจับอยู่บนพื้นผิวและตัวกรองของ DPF ในปัจจุบันระบบ DPF มีประสิทธิภาพสูงสุดในการลด PM มากกว่า 95%
1.3 ซีเล็คทีฟแคทตาลิสต์รีดักชั่น (Selective Catalytic Reduction, SCR) การเกิดปฏิกิริยาเคมีรีดักชั่นของไอเสียซึ่งจะต้องมีการฉีดยูเรีย หรือ AdBlue เข้าไปผสมด้วย เพื่อทำให้ ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) เปลี่ยนเป็น ไนตรัสออกไซด์ (N2O) และ ไนโตรเจน (N2) ในปัจจุบันระบบ SCR มีประสิทธิภาพสูงสุดในการลด NOx มากกว่า 99%
#สู่ลมหายใจไร้ฝุ่น#MOVE#KMUTT#moveforwardforthebetterbreath