Posted in: ACTICLE, ข่าวสาร

มาทำความรู้จักเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่กัน พร้อมกับแนวทางแก้ไขที่ทำได้จริง ในการแก้ปัญหามลพิษ PM2.5 โดยศูนย์วิจัย MOVE มจธ.

ปัญหาฝุ่น PM2.5 จะหมดไปจากกรุงเทพฯ ไหม

คนกรุงเทพฯ มาทำความรู้จักเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่กัน พร้อมกับแนวทางแก้ไขที่ทำได้จริง ในการแก้ปัญหามลพิษ PM2.5 โดยศูนย์วิจัย MOVE มจธ.

ศูนย์วิจัย Mobility and Vehicle Technology Research Center หรือ MOVE มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าบุรี (มจธ.) เล็งเห็นถึงผลกระทบของปัญหา PM2.5 จึงได้ศึกษาและวิจัยการเเก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศจากภาคขนส่งทางถนนมาโดยตลอด โดยเฉพาะการพัฒนายานยนต์สมัยใหม่สำหรับประเทศไทย

ในช่วง ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัย MOVE ได้ร่วมมือพันธมิตร ภายใต้การสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ทำโครงการ “การศึกษาความเป็นไปได้ในการทดแทนรถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบันด้วยยานยนต์ไฟฟ้า ยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ และยานยนต์ที่ได้มาตรฐานค่าไอเสียยูโร 6 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในบรรยากาศ”

โดยเสนอให้มีการนำเทคโนโลยียานยนต์ต่อไปนี้มาทดแทนยานยนต์ดีเซล ทั้งระยะสั้นและยาว

  1. ยานยนต์ดีเซลใหม่ด้วยมาตรฐานค่าไอเสียยูโร 5 และ 6 มาใช้ทันที ซึ่งยานยนต์จะมีการติดตั้งระบบบำบัดไอเสีย (Aftertreatment System) เพื่อดักจับหรือกำจัดมลพิษที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ และสามารถลด PM ได้ถึง 95%
  2. ยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ทดแทนทั้งยานยนต์ใหม่และเก่า ที่มีการติดตั้งระบบการจ่ายเชื้อเพลิงเชื้อเพลิงแก๊สธรรมชาติในระบบการขับเคลื่อน
  3. ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ (BEV) ซึ่งเป็นยานยนต์ที่ไม่ปลดปล่อยมลพิษจากปลายท่อ เนื่องจากเป็นยานยนต์ที่ไม่มีเครื่องยนต์สันดาปภายใน

จากผลการจัดทำภาพฉายการปลดปล่อยมลพิษฝุ่นละออง PM2.5 จากภาคขนส่งในอนาคตของประเทศไทย ในกรณีที่มีการดำเนินการตามนโยบายชาติด้านการลดการปลดปล่อยมลพิษจากยานยนต์ ได้แก่

  1. การส่งเสริมให้ปรับมาตรฐานการปล่อยไอเสียให้เป็นยูโร 5 หรือ ยูโร 6
  2. การส่งเสริมยานยนต์ใหม่ในปี ค.ศ. 2035 ที่จะเข้าสู่ตลาดเป็นยานยนต์ไร้มลพิษ 100%
    สามารถลดการปล่อยมลพิษฝุ่นละออง PM2.5 จากภาคขนส่งทางถนนลง ในปีค.ศ. 2050 ได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 87 เมื่อเทียบกับกรณี BAU

Back to Top