วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 – 12.30 น. ศูนย์วิจัย Mobility and Vehicle Technology Research Center (MOVE) และ KX – Knowledge Exchange for Innovation KMUTT ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดงานเสวนา “การสนับสนุนโครงการธุรกิจนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่อง ปีงบประมาณ 2567” ณ ห้องประชุม X04 ชั้น 10 อาคารเคเอกซ์ งานนี้จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ในการสนับสนุนโครงการธุรกิจนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยี โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวต้อนรับ และปาฐกถาหัวข้อ “ภาพรวมการสนับสนุนธุรกิจนวัตกรรมของประเทศ” ภายในงานยังมีการบรรยายในหัวข้อดังนี้ – การส่งเสริมงานวิจัยธุรกิจนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทย โดย ดร.ธนาคาร วงษ์ดีไทย […]
Category: ACTICLE
OPEN HOUSE การสนับสนุนโครงการธุรกิจนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่อง ปีงบประมาณ 2567
ขอเชิญหน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมงานประชาสัมพันธ์ “การสนับสนุนโครงการธุรกิจนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่อง ปีงบประมาณ 2567” รายละเอียดงาน: 🗓 วันที่: 27 ตุลาคม 2566 🕘 เวลา: 09.00 – 12.30 น. 🏢 สถานที่: ห้องประชุม X04 ชั้น 10 อาคารเคเอกซ์ (https://maps.app.goo.gl/VAUQZHE7YLwqKCMS8) กำหนดการ: ✅ 09.00 – 09.30 น. – ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ✅ 09.30 – 09.40 น. – กล่าวต้อนรับ ✅ 09.40 – 09.55 น. – บรรยายหัวข้อ “กลไกสนับสนุนโครงการนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ” ✅ 09.55 – 10.10 น. – บรรยายหัวข้อ […]
ศูนย์วิจัย Mobility and Vehicle Technology Research Center (MOVE) หารือร่วมกับทางบริษัท UL Solution
วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2566 รศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล หัวหน้าศูนย์วิจัย Mobility and Vehicle Technology Research Center (MOVE) และ ผศ.ดร.ณัฐพล วงศ์เยาว์ ได้หารือร่วมกับทางบริษัท UL Solution โดยมี Mr. Patric Yeoh, Mr. Arun Balkrishnan Nair, Mr. Kew Cherng Fung และ คุณ Wiphawadee Sarabute เข้าหารือในเรื่องมาตรฐานการทดสอบแบตเตอรี่และอุปกรณ์ประกอบระบบแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย ร่วมทั้งเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทดสอบแบตเตอรี่ ของทางศูนย์วิจัย MOVE
มาทำความรู้จักเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่กัน พร้อมกับแนวทางแก้ไขที่ทำได้จริง ในการแก้ปัญหามลพิษ PM2.5 โดยศูนย์วิจัย MOVE มจธ.
ปัญหาฝุ่น PM2.5 จะหมดไปจากกรุงเทพฯ ไหม คนกรุงเทพฯ มาทำความรู้จักเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่กัน พร้อมกับแนวทางแก้ไขที่ทำได้จริง ในการแก้ปัญหามลพิษ PM2.5 โดยศูนย์วิจัย MOVE มจธ. ศูนย์วิจัย Mobility and Vehicle Technology Research Center หรือ MOVE มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าบุรี (มจธ.) เล็งเห็นถึงผลกระทบของปัญหา PM2.5 จึงได้ศึกษาและวิจัยการเเก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศจากภาคขนส่งทางถนนมาโดยตลอด โดยเฉพาะการพัฒนายานยนต์สมัยใหม่สำหรับประเทศไทย ในช่วง ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัย MOVE ได้ร่วมมือพันธมิตร ภายใต้การสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ทำโครงการ “การศึกษาความเป็นไปได้ในการทดแทนรถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบันด้วยยานยนต์ไฟฟ้า ยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ และยานยนต์ที่ได้มาตรฐานค่าไอเสียยูโร 6 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในบรรยากาศ” โดยเสนอให้มีการนำเทคโนโลยียานยนต์ต่อไปนี้มาทดแทนยานยนต์ดีเซล ทั้งระยะสั้นและยาว ยานยนต์ดีเซลใหม่ด้วยมาตรฐานค่าไอเสียยูโร 5 และ 6 มาใช้ทันที ซึ่งยานยนต์จะมีการติดตั้งระบบบำบัดไอเสีย (Aftertreatment […]
รถ Tesla วิ่งชนเสาไฟแล้วเกิดไหม้ ที่สมุทรสงคราม
กรณีอุบัติเหตุแบบนี้มีโอกาสเกิดไฟลุกไหม้เกิดขึ้นได้สำหรับรถยนต์ทุกประเภทไม่ใช่แค่รถยนต์ไฟฟ้า อยากจะเชิญชวนท่านที่สนใจเรื่องการออกแบบยานยนต์ไฟฟ้า ลองอ่าน 2 บทความวิชาการนี้ครับ บทความแรก Lessons from the Electric Vehicle Crashworthiness Leading to Battery Fireบทความเป็น open access สามารถ download ได้โดยตรง มีสรุปจาก case ที่เกิดขึ้นจริง https://www.mdpi.com/1996-1073/14/16/4802 บทความที่สอง A Review of Safety Strategies of a Li-ion Battery บทความ review นี้จะกว้างมากขึ้นในเรื่องความปลอดภัยของการออกแบบแบตเตอรี่ https://www.sciencedirect.com/…/abs/pii/S0378775320309538 อ่านบทความวิชาการเพิ่มเติมที่ https://move.kmutt.ac.th/research-articles#moveforwardforthebetterbreath #KMUTT#MOVE#สู่ลมหายใจไร้ฝุ่น
ศูนย์วิจัย MOVE มจธ. จัดงานสัมมนาออนไลน์แถลงผลการศึกษาโครงการ การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบัน ด้วยการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ และยานยนต์ที่ได้มาตรฐานค่าไอเสียยูโร 6 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในบรรยากาศ
ศูนย์วิจัย MOVE มจธ. จัดงานสัมมนาออนไลน์แถลงผลการศึกษาโครงการ การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบัน ด้วยการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ และยานยนต์ที่ได้มาตรฐานค่าไอเสียยูโร 6 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในบรรยากาศ เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2564 ศูนย์วิจัย MOVE มจธ.นำโดย รศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาความยั่งยืนและหัวหน้าศูนย์วิจัย Mobility and Vehicle Technology Research Center (MOVE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกับ กรมควบคุมมลพิษ และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดงานสัมมนาออนไลน์ เผยเเพร่ผลการศึกษาโครงการ “การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบัน ด้วยการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ เเละ ยานยนต์ที่ได้มาตรฐานค่าไอเสียยูโร 6 ในเขตกรุงเทพฯ เเละปริมณฑล เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) […]
ส่องนโยบายคาร์บอนเป็นศูนย์ (Zero Carbon) ทางด้านการคมนาคม ของประเทศ นิวซีแลนด์
ส่องนโยบายคาร์บอนเป็นศูนย์ (Zero Carbon) ทางด้านการคมนาคม ของประเทศ นิวซีแลนด์โดยมีเป้าหมายระหว่างปี 2022-2035 ในแต่ละเรื่องได้แก่ 1.1 ยานพาหนะมลพิษต่ำ มีเป้าหมายในปี 2022-2030 ให้การสนับสนุนเงินชดเชยหรือภาษีสำหรับผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า พัฒนาประสิทธิภาพของรถยนต์เบนซิน และดีเซลรวมถึงการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในเชื้อเพลิงเบนซิน และในปี 2031-35 ยกเลิกการใช้รถยนต์เบนซินและรถยนต์ดีเซล ส่วนรถบรรทุกจะเปลี่ยนเป็นรถบรรทุกไฟฟ้าทั้งหมด 1.2 การลดการเดินทาง มีเป้าหมายในปี 2022-2035 สนับสนุนให้ผู้คนทำงานที่บ้านได้ เพิ่มจำนวนผู้คนในรูปแบบ เดิน ปั่นจักรยาน และการเดินทางสาธารณะ และเพิ่มการขนส่งสินค้าด้วยการขนส่งทางรางและทางเรือ 1.3 อากาศยาน และทางเรือ มีเป้าหมายในปี 2022-2025 เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางอากาศและทางเรือ ในปี 2026-2030 เรือข้ามฝากและอื่นๆเป็นไฟฟ้าทั้งหมด และในปี 2031-35 เที่ยวบินในประเทศเป็นไฟฟ้าทั้งหมด Jacinda Ardern นายกรัฐมนตรีแห่งนิวซีแลนด์เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักนายกมนตรีหญิงของประเทศนิวซีแลนด์คนนี้เป็นอย่างดีไม่ว่าจะผ่านทางโซเชียลมีเดียหรือข่าวทางโทรทัศน์เพราะความสามารถในการบริหารประเทศ และการสื่อสารกับประชาชนที่ตรงไปตรงมา ซึ่งเธอได้แต่งงานกับแฟนหนุ่ม คลาร์ก เกย์ฟอร์ด ชีวิตครอบครัวของเธอก็เรียกได้ว่าเป็นที่จับตามองเพราะขณะที่เธอดำรงตำแหน่งในเดือนมกราคม ปี 2018 Jacinda ก็ประกาศว่าเธอกำลังตั้งท้อง เธอได้ให้กำเนิดลูกสาวโดยตั้งชื่อว่า นีฟ […]
Read More “ส่องนโยบายคาร์บอนเป็นศูนย์ (Zero Carbon) ทางด้านการคมนาคม ของประเทศ นิวซีแลนด์”
“อนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์คือ ยานยนต์ไฟฟ้า ไม่มีทางหวนกลับ”
“อนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์คือ ยานยนต์ไฟฟ้า ไม่มีทางหวนกลับ” ประธานาธิบดี โจ ไบเดนที่มา https://www.facebook.com/101078858635318/posts/301170498626152 https://web.facebook.com/kmuttmove/photos/2834475663497012 #JoeBiden#KMUTT#BEV#Tesla#MOVE#moveforwardforthebetterbreath
สหภาพยุโรป เตรียมเสนอรถยนต์ใหม่ต้องเป็น “รถยนต์ไร้มลพิษ” ภายในปีค.ศ. 2035
สหภาพยุโรป เตรียมเสนอรถยนต์ใหม่ต้องเป็น “รถยนต์ไร้มลพิษ” ภายในปีค.ศ. 2035 สหภาพยุโรป เตรียมเเผนยกเลิกการจำหน่าย รถยนต์เครื่องยนต์ หลังผู้ผลิตยานยนต์ จะหยุดผลิต รถยนต์เครื่องยนต์โดยเปลี่ยนไปใช้ยานยนต์ไร้มลพิษ หรือ ยานยนต์ไฟฟ้า 100% ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2028 – ค.ศ. 2035 ตามที่ทางสหภาพยุโรป มีมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่อากาศ ด้วยการปรับปรุงข้อกฏหมายด้านการจัดเก็บภาษีในการใช้พลังงานที่มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมทั้งการตั้งเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 55% ภายในปี ค.ศ. 2030 เมื่อเทียบกับในปี ค.ศ. 1990 และตั้งเป้าหมายในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050 ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม ผู้ผลิตยานยนต์หลายราย ได้เริ่มประกาศว่า ช่วงเวลาที่ยานยนต์ทุกรุ่นจะจำหน่ายเฉพาะยานยนต์ไร้มลพิษ (ยานยนต์ไฟฟ้า 100%) เท่านั้น โดยค่ายยานยนต์ Volkswagen AG ได้ประกาศว่ามากกว่า 50% ของยานยนต์ที่บริษัทจัดจำหน่าย จะเป็นยานยนต์ไร้มลพิษ ภายในปี ค.ศ. 2030 อ้างอิงhttps://www.reuters.com/…/eu-will-introduce-cut-off…/https://www.bloomberg.com/…/europe-to-propose-end-of… #สู่ลมหายใจไร้ฝุ่น#MOVE#KMUTT#moveforwardforthebetterbreath#ZEV#vehicle#รถยนต์ไฟฟ้า
การควบคุมมลพิษจากรถยนต์ดีเซล ด้วยมาตรฐานไอเสียยูโร 4 เนื่องด้วยปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะปัญหา PM2.5
ในปัจจุบันประเทศไทยมีการควบคุมมลพิษจากรถยนต์ดีเซล ด้วยมาตรฐานไอเสียยูโร 4 เนื่องด้วยปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะปัญหา PM2.5 ภาครัฐจึงมีแผนยกระดับความเข้มข้นของการปลดปล่อยมลพิษโดยยกระดับมาตรฐานไอเสียยูโร 4 ไปเป็นมาตรฐานที่สูงขึ้น ได้แก่ มาตรฐานยูโร 5 และ 6 ตามลำดับ เป็นแนวทางหนึ่งที่จะควบคุมการปล่อยมลพิษจากยานยนต์ใหม่ อย่างไรก็ตาม ในการพัฒนามาตรฐานการควบคุมมลพิษไปสู่ยูโร 5 และ 6 นั้น ต้องพิจารณา 2 ประเด็นหลักคือ มาตรฐานของน้ำมันเชื้อเพลิง มาตรฐานการควบคุมไอเสียยานยนต์ สำหรับมาตรฐานการควบคุมไอเสียยานยนต์จำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีของเครื่องยนต์ รวมทั้งมีการติดตั้งอุปกรณ์บำบัดไอเสียเพิ่มด้วย •มาตรฐานของน้ำมันเชื้อเพลิง 4 จะมีปริมาณของกำมะถันในเชื้อเพลิงไม่เกิน 50 PPM ส่วนมาตรฐานของน้ำมันเชื้อเพลิงยูโร 5 และ 6 นั้นจะมีปริมาณของกำมะถันในเชื้อเพลิงไม่เกิน 10 PPM •ชนิดและหลักการทำงานของอุปกรณ์บำบัดไอเสีย 1.1 ดีเซลออกซิเดชั่นแคทาลิติก (Diesel Oxidation Catalyst, DOC) ทำหน้าที่การเกิดปฏิกิริยาเคมีออกซิเดชั่นของไอเสียทำให้ ไฮโดรคาร์บอน (HC) และ คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) เปลี่ยนเป็น คาร์บอนไดออกไซด์ […]